RFID คืออะไร? เข้ามาเชื่อมต่อกับ IoT อย่างไร?

RFID คืออะไร? เข้ามาเชื่อมต่อกับ IoT อย่างไร?

RFID คืออะไร? ทำงานอย่างไร? สามารถใช้งานร่วมกับ IoT ได้อย่างไร?


หลายๆคนมอาจจะองข้ามเทคโนโลยีนี้กันไปแล้ว แต่ใครจะทราบว่าตอนนี้เทคโนโลยี RFID นั้นกลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานแห่งโลกอนาคตไปแลว เทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาแทรกซึมและอยู่ในชีวิตประจำวันของเราไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้ารู้แบบนี้แล้วเรามาทำความรู้จักเทคโนโลยี RFID ให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ

คำถามที่ 1 - RFID คืออะไร?

ตอบคำถามเพื่อให้เข้าใจโดยง่าย RFID หรือ อาร์เอฟไอดี ย่อมาจาก Radio Frequency Indentification คือ การระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อาศัย Bandwitch ในอากาศเป็นตัวสื่อสารระหว่าง ตัวส่งสัญญาน และตัวรับสัญญานและประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

คำถามที่ 2 - RFID ทำงานอย่างไร?

การทำงานของเทคโนโลยี RFID นั้นมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ เครื่องอ่าน RFID (RFID reader) , ฉลาก RFID (RFID tag) และ คอมพิวเตอร์หน่วยประมวลผล (CPU) โดยวิธีการทำงานของ RFID จะเริ่มต้นจากการส่งสัญญานออกมาจาก RFID tag ไปให้กับ RFID reader ซึ่งรูปแบบของการส่งสัญญานจะเป็นแบบ Passive คือ การโต้ตอบกันระหว่างเทคโนโลยี เช่น RFID reader แสกนเข้าไปในพื้นที่เพื่อระบุตัวตน RFID tag เมื่อตรวจสอบพบแล้ว RFID tag จะส่งสัญญานกลับไปหาที่ RFID reader เพื่อยืนยันตัวตนด้วยรหัส EPC หรือ UID ขึ้นอยู่กับเราเขียน โปรแกรมให้รับค่าข้อมูลชุดใด โดยการควบคุม RFID reader นั้นจะต้องอาศัยชุดคำสั่งที่ถูกกำหนดไว้ผ่าน CPU ซึ่งปัจจุบัน RFID reader รุ่นใหม่ๆ ส่วนมากจะมีหน่วยประมวลผลในตัวแล้ว  ทำให้ไม่จำเป็นต้องซื้อคอมพิวเตอร์มาเขียนชุดคำสั่งหรือต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมให้ยุ่งยากแล้ว

คำถามที่ 3 - แล้วเอา RFID ไปใช้งานอย่างไร?

ถือเป็นคำถามยอดฮิตที่หลายๆคนต่างตั้งคำถามขึ้นมาว่า RFID มันควรเอาไปประยุกต์ใช้แบบไหนกันแน่ ถ้าให้ตอบจริงๆ ก็ต้องบอกเลยครับว่าได้ทุกอย่างเลยที่เราต้องการติดตาม ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ ทรัพสินย์ ใดๆก็ตามที่ท่านอยากรู้ว่าสถานะเป็นอย่างไรบ้าง ตอนนี้อยู่ไหนแล้ว หรือต้องการไปใช้งานแทนการใช้คนหรือพนักงานในกิจกรรมที่ต้องมีการนับจำนวน หรือต้องมีการตรวจสอบรายวัน รายเดือน หรือรายปี ควรจะต้องนำเทคโนโลยี RFID เข้ามาใช้งานเพื่อลดขั้นตอนการทำงานเหล่านี้ได้อย่างดีเลยครับ

คำถามที่ 4 - การทำงานของ RFID ในแต่ละประเภท

เราอาจจะต้องทำความเข้าใจพื้นฐานกับเทคโนโลยี RFID กันก่อนนะครับว่ามันมีกี่คลื่นความถี่ แต่ละคลื่นความถี่แตกต่างกันอย่าง?

คลื่นความถี่ต่ำ (Low Frequency) - คลื่นความถี่นี้จะอยู่ในช่วงสัญญาณวิทยุระหว่าง 30-300 KHz แต่ช่วงที่ใช้งานกันในประเทศไทย คือ 125 KHz นิยมใช้งานร่วมกับบัตร Proximity Card ลักษณะการทำงานจะส่งข้อมูลค่อนข้างช้าและ ระดับความปลอดภัยไม่สูงมาก เหมาะสำหรับใช้งานระบุตัวตนที่ไม่ได้ต้องการความปลอดภัยสูงมาก แต่ข้อดีก็คือสามารถทำงานได้ แม้สภาพแวดล้อมจะมีการรบกวนจากวัสดุที่เป็นเหล็ก หรือของเหลว

คลื่นความถี่สูง (High Frequency) - อยู่ในช่วงสัญญาน 13.56 MHz ถูกแบ่งมาตรฐานการทำงานหรือ ISO ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ISO14443 และ ISO15693 ซึ่งมาตรฐานทั้ง 2 แบบนั้นจะถูกใช้งานกับ RFID tag หรือ RFID card เฉพาะของเครื่องอ่านนั้นๆ ไม่สามารถใช้งานข้ามกันได้ โดยส่วนมากจะนิยมใช้กันสำหรับงานที่ข้อมูลมีความสำคัญ หรือมีเรื่องของเงินมาเกี่ยวข้อง เช่น บัตร Rabbit card ของ BTS เป็นต้น

คลื่นความถี่สูงยิ่ง (Ultrad-High Frequency) - ช่วงสัญญานของคลื่นความถี่นี้จะอยู่ในช่วง 920-925 MHz ตามข้อกำหนดมาตรฐานการสื่อสารทางวิทยุที่ กสทช. กำหนดไว้ให้เทคโนโลยี RFID UHF นั้นอยู่ในช่วงความถี่นี้ ซึ่งมีเพื่อนใช้ความถี่นี้ร่วมกับ UHF เป็นจำนวนมากจากการเข้ามาของเทคโนโลยี IoT ทำให้การเลือกใช้งาน RFID reader ควรเลือกให้ถูกต้องทั้งตามข้อกฎหมายและข้อควรระวังในการรบกวนสัญญานระหว่างกันของอุปกรณ์ด้วยนะครับ ลักษณะพิเศษของคลื่นความถี่นี้คือเรื่องของระยะการอ่านครับ ในคลื่นี้จะมีระยะการอ่านที่ไกลกว่า 2 คลื่นความถี่แรกทั้ง LF และ HF ที่ได้มากสุดที่เทคโนโลยีสามารถทำได้ คือ 50 เซนติเมตร ในส่วนของ UHF นั้นอ่านได้ไกลสุดถึง 10 เมตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องอ่าน RFID (RFID reader) และ RFID tag ด้วยนะครับ เราจำเป็นต้องเลือกใช้งานให้ถูกต้องตามความเหมาะสมที่เราต้องการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่ง RFID UHF นี้จะถูกนำไปใช้สำหรับการนับจำนวนสินค้า หรือทรัพสินย์เป็นจำนวนมาก ด้วยประโยชน์ของเทคโนโลยี คือ การอ่าน RFID tag ได้จำนวนมากๆ ในการอ่านเพียง 1 ครั้ง และระยะอ่านที่ไกล ทำให้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงการ Logistics และ Supply Chain เช่น Uniqlo ได้ประยุกต์ใช้ RFID เพื่อติดตามการดำเนินงานตลอดกระบวนการ Logistics และ Supply Chain ทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนการสั่งซื้อ และส่งมอบสินค้าได้อย่างถูกต้องมาตลอดไม่เคยเกิดปัญหา BackLog ที่เป็นปัญหาใหญ่ของ Logistics เมื่อเกิด Bullwhip effect

คำถามที่ 5 - RFID มีประโยชน์กับอุตสาหกรรมใดบ้าง?

เมื่อเราทำความเข้าใจกับเทคโนโลยี RFID กันไปบ้างแล้วว่าลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร เราควรเลือกใช้คลื่นความถี่กับงานแบบใด มาถึงคำถามสุดท้ายครับ คำถามที่ว่า RFID ได้ถูกนำไปใช้กับอุตสาหกรรม หรือ ธุรกิจใดไปแล้วบ้าง ถ้าพูดถึง RFID ในระดับโลกนั้นต้องบอกเลยครับว่า เขาไปไกลกันมากแล้ว ไม่ได้พูดถึงแค่อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งแล้ว ต่างจากประเทศไทยของเราที่กำลังวิ่งเอา RFID ไปตรวจนับหรือทำ Inventory หรือจะเป็นการติดตั้งกับบุคลากร หรือ ลูกค้าที่เราต้องการติดตาม แต่ RFID ในระดับโลก เขาจะพูดถึงในมุมมองที่เป็น RFID ระดับมหภาค ด้วยการติด RFID กับสินค้าทั่วโลกของแต่ละประเทศ เพื่อติดตามและเก็บข้อมูลสินค้าเป็นฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างประเทศ

ด้วยการแบ่งปันข้อมูลร่วมกันทำให้เกิดความร่วมมือระดับโลกโดยอ้างอิงการติดสินใจจากข้อมูลที่ได้จาก RFID ที่เอาไปติดกับทรัพสินย์นี่แหละครับ ซึ่งองค์กรที่พูดถึงมีชื่อว่า RAIN RFID องค์กรนี้เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือกันระหว่างผู้นำตลาด RFID ของโลก นำโดย Impinj พี่ใหญ่ของวงการ RFID ที่ผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาและนำออกสู่ตลาดอยู่เรื่อยๆ เป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญของตลาดนี้เลยครับ

ในส่วนของตลาดในประเทศไทยเทคโนโลยี RFID ในบ้านเราต้องบอกเลยว่ากำลังค่อยๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ ไม่ได้พุ่งทะยานหวือหวาเหมือนต่างประเทศ แต่ปัจจุบันถ้าพูดถึงการนำไปใช้ เราเริ่มสามารถเห็นได้ทั่วไปในหลายๆที่แล้วครับ ไม่ว่าจะเป็นในห่างสรรพสินค้าอย่าง Decathlon หรือ Uniqlo ที่มีการใช้งาน UHF RFID หรือบัตรรถไฟฟ้าหรือบัตรสมาชิกต่างๆ นั่นก็เป็น RFID เช่นกัน หรือจะพูดในมุมของอุตสาหกรรม ก็เริ่มมีการใช้งานผสมผสานเทคโนโลยีหลายๆ ส่วนเข้ามาเพื่อออกแบบ Solution สำหรับตอบโจทย์ลูกค้า ในตลาดกันจำนวนมาก ก็ต้องยอมรับเลยครับว่าตลาด RFID ในประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้